SWIFT CODE คือรหัสที่ในการระบุธนาคาร ตัวอย่างเช่น ธนาคารกรุงเทพจะใช้ว่า BKKBTHBK
- การโอนเงินไปยังผู้รับในธนาคารต่างประเทศ จำเป็นต้องระบุ SWIFT CODE
- แต่มีบางประเทศที่อาจจะใช้มาตรฐาน IBAN แทน
- ข้อมูลเพิ่มเติม: IBAN คืออะไร ?
ปัจจุบันมีธนาคารมากกว่า 8,100 แห่งและกว่า 208 ประเทศที่ใช้มาตรฐาน SWIFT CODE
- เป็นที่ยอมรับและใช้กันมาอย่างยาวนานทั่วโลก ตามมาตรฐาน ISO ขององค์การระหว่างประเทศ
- โดยองค์กร SWIFT เป็นผู้รับผิดชอบในการลงทะเบียนรหัสดังกล่าว
รูปแบบของ Swift Code
โดยทั่วไปแล้วรหัสมักจะมีความยาว 8-11 ตัวอักษร, และมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้:
- อักขระสี่ตัวแรก ใช้เป็นรหัสสำหรับระบุตัวธนาคาร และใช้เป็นตัวอักษรเท่านั้น
- อักขระสองตัวถัดไป ใช้อธิบายหรือให้รหัสสำหรับระบุประเทศ
- อักขระสองตัวถัดไปสามารถเป็นทั้งตัวเลขและตัวอักษรผสมกัน ใช้สำหรับข้อมูลสถานที่
- อักขระสามตัวสุดท้ายของรหัสสามารถเป็นตัวเลขและตัวอักษร และไม่บังคับใช้เพื่อระบุสาขา
จะค้นหารหัส SWIFT Code ได้อย่างไร?
การค้นหารหัส Swift สามารถทำได้หลายวิธีได้แก่:
- การสอบถามไปยังธนาคารที่ท่านกำลังใช้บริการอยู่
- การตรวจสอบข้อมูลจากบนเว็บไซต์ของธนาคาร
- การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์รวบรวม Database ตัวอย่างเช่น:
BIC กับ Swift Code
BIC คือรหัสที่ไว้สำหรับระบุธนาคาร และสาขาของธนาคารทั่วโลก
ย่อมาจากคำว่า Bank Identifier Code ซึ่งก็คืออย่างเดียวกันกับ Swift Code
*กล่าวโดยสรุปคือ ทั้งสองอย่างนี้คือรหัสเดียวกัน
ประวัติของ SWIFT CODE
องค์กร SWIFT ก่อตั้งมาแล้วว่า 40 ปี โดยก่อตั้งในปี 1973 โดยมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกด้านธุรกรรมการเงิน และการพาณิชย์ระหว่างประเทศ
- องค์กรนี้ถือเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้เกิดเสถียรภาพในโลกการเงิน
- ซึ่งเปิดให้บริการในปี 1977 มีสถาบันมากกว่า 518 แห่งจาก 22 ประเทศที่เชื่อมโยงกันโดยใช้บริการนี้
- ปัจจุบันธนาคารจำนวนมากทั่วโลกที่ใช้มาตรฐานนี้
- ซึ่งเป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางไว้มาตลอดหลายสิบปี
- ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ Av. Adèle 1, 1310 La Hulpe, Belgium / ดูบนแผนที่ Google Maps